คุณสรกิจให้คำตอบว่า “เชื่อไหมว่า มีการรวบรวมอาหารประเภทต้มของไทย หรือที่ต่างชาติอาจจะเรียกว่าซุป แล้วพบว่าเรามีมากกว่า 300 ชนิด บอกได้เลยว่าไม่มีประเทศไหนที่ช่างคิดได้ขนาดนี้ ซึ่งมันทำให้ผู้คนสนใจและอยากจะค้นหาให้มากขึ้น ที่สำคัญเรายังเพิ่มลูกเล่นได้อีกเยอะ ลองพิจารณาดูสิว่า ทำไมชาวต่างชาติจึงหลั่งไหลมาเรียนทำอาหารที่เมืองไทย เพราะพวกเขาอาจจะอยากรู้ว่ามีอะไรลึกซึ้งกว่านี้อีกไหม หรือแม้แต่สายพันธุ์ข้าวที่เรากินก็มีตั้งมากมาย มีอะไรให้ค้นหาอีกเพียบ จะบอกว่า สิ่งนี้แหละคือเสน่ห์ของเรา”
เรื่องนี้สอดคล้องกับ เศรษฐกิจความคิดสร้างสรรค์ (Creative Economy) ที่ทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ให้นิยามว่า แนวคิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจบนพื้นฐานของการ ใช้องค์ความรู้ (Knowledge) การศึกษา (Education) การสร้างสรรค์งาน (Creativity) การใช้ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) ที่เชื่อมโยงกับพื้นฐานทางวัฒนธรรมตลอดจนการสั่งสมความรู้ของสังคมและเทคโนโลยี นวัตกรรมใหม่ ที่ในอนาคตถูกคาดการณ์ว่าจะเข้ามาแทนที่เศรษฐกิจแบบผลิต (Manufacturing) ที่เน้นไปที่กำรผลิตเพียงอย่างเดียว
หากในอนาคตเศรษฐกิจสร้างสรรค์กลายเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยควรจะคำนึงถึง คือ สินค้าควรจะมาจากไอเดีย มีเรื่องราวใช้สำหรับอธิบาย เพื่อให้มีจุดขาย หรือที่คุณสรกิจให้นิยามว่า ‘สร้าง Level’
“ครั้งหนึ่งดีไซน์เนอร์จากอิตาลีพูดถึงขนมใส่ไส้ว่า ใบตองที่มีใช้ห่อนั้นรูปทรงเหมือนเจดีย์และสวยงามเหลือเกิน เขาปลื้มมาก หรือตัวอย่างพืชไทยอย่างกระจูด ปัจจุบันมีการนำมาผลิตเป็นของใช้ให้โรงแรม ถึงอายุการใช้งานจะไม่ได้ยาวมาก แต่ดีไซน์น่าสนใจและต้นทุนไม่แพง ทำให้เป็นที่นิยม ตอนนี้กระจูดดังไกลไปถึงอังกฤษแล้ว หรือการที่คนไทยชนะรางวัลแกะสลักน้ำแข็งบ่อยครั้ง แต่เราไม่ผลักดันต่อเท่าที่ควร ทั้งที่มันอาจจะทำอะไรได้อีกเยอะ เราต้องกลับมาดูตัวเองและรักความเป็นตัวเราให้มากที่สุด”
กล่าวคือ จงอย่ามองข้ามสิ่งที่คุ้นเคยในชีวิตประจำวัน หรืออะไรก็ตามที่เรามีอยู่ เพราะท้ายสุดทุกอย่างที่เราเป็นนั้นอาจจะสามารถนำมาต่อยอดได้ เพียงแต่จำเป็นต้องพัฒนาไปอย่างเป็นระบบ หมายถึงเราต้องใส่ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) เข้าไปด้วย และถ้าเป็นไปได้ ควรสร้างประโยชน์ในจากการใช้งานที่ไม่ซ้ำใครหรือที่เรียกว่านวัตกรรม (Innovation) ลงไปในตัวสินค้าหรือบริการด้วย ตอบโจทย์ความต้องกำรของผู้บริโภคที่ได้มากกว่าการซื้อสินค้า เพื่อให้สินค้าแตกต่างและน่าสนใจกว่าเจ้าอื่น พยายามคิดนอกกรอบ และสุดท้ายสินค้าจะต้องอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคได้ด้วย เพื่อให้ธุรกิจได้เติบโตในยุคเศรษฐกิจสร้างสรรค์
ขณะเดียวกัน ในการทำธุรกิจ อย่าลืมว่าเราจำเป็นต้องพิจารณาร่วมกับรากวัฒนธรรม ลักษณะภูมิอากาศและภูมิประเทศของพื้นที่ที่เราจะขายด้วย เช่น หากจะขายรองเท้าบู๊ทส์ในประเทศไทยก็อาจจะขายได้ไม่มาก เพราะบ้านเราไม่ได้มีหิมะ เป็นต้น และเพื่อให้ธุรกิจดำรงอยู่ได้ระยะยาว เราควรจะดูว่ามีอะไรอยู่รอบๆตัว หรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เรำอยู่ เผื่อหยิบจับมำเป็นวัตถุดิบและต่อยอดได้ ที่สำคัญคือ ต้องปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะที่จะกลายเป็นภาระในอนาคต “ทุกวันนี้ ธุรกิจอายุสั้นลงเรื่อยๆ เราจำเป็นต้องอำศัยความคิดสร้างสรรค์มากๆ และถ้าใครมองเห็นโอกาสและคว้ามันไว้ได้เร็วกว่า ก็กอบโกยได้มากกว่า จากนั้นเจ้าอื่นก็จะวิ่งตามมาอีกมาก แต่ถึงจะเป็นเช่นนั้น ผู้บริโภคก็จะมี Loyalty กับผู้ประกอบการรายแรกๆ สูงกว่าอยู่ดี” คุณสรกิจทิ้งท้าย