Reusable and No Packaging ธุรกิจแนว Green ที่ต้องปรับตัว

การดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน (sustainability) เป็นแนวทางหลักที่ผู้ประกอบการทั่วโลกให้ความสำคัญและหลายธุรกิจได้ปรับตัวให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

แชร์โพสต์นี้

cover-The Zero-Waste Movement

การดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน (sustainability) เป็นแนวทางหลักที่ผู้ประกอบการทั่วโลกให้ความสำคัญและหลายธุรกิจได้ปรับตัวให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น การเลิกใช้วัสดุพลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวมาเป็นวัสดุทดแทนที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ หรือแม้แต่เกิดธุรกิจแนวใหม่ตามกระแสรักษ์สิ่งแวดล้อมที่เริ่มมีให้เห็นในเมืองไทยมากขึ้นเรื่อย ๆ นั่นก็คือ ร้านค้าที่เปิดจำหน่ายสินค้าในชีวิตประจำวันแบบไร้แพ็กเกจ (No Packaging) เช่น อาหาร เครื่องดื่ม สบู่ ยาสระผม น้ำยาซักผ้า น้ำยาอเนกประสงค์ต่างๆ ฯลฯ โดยลูกค้าจะต้องนำภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์อื่นๆ มาใส่ตัวสินค้า/ผลิตภัณฑ์เอง และแม้ปัจจุบันร้านค้าในรูปแบบดังกล่าวอาจจะยังไม่คุ้นเคยสำหรับผู้บริโภคชาวไทยมากนัก แต่ถ้าดูจากทิศทางการเพิ่มขึ้นของร้านค้าไร้แพ็กเกจที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นการสะท้อนให้เห็นว่า อีกไม่นาน ร้าน (ไม่)
สะดวกซื้อแต่ว่าดีต่อใจและโลกใบนี้อาจจะเข้ามาเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ของลูกค้าที่ต้องการจะช่วยลดขยะบนโลกใบนี้ให้น้อยลง

แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า (Covid-19) ที่อาจทำให้ธุรกิจและแนวคิดดังกล่าวต้องชะงักและบางสถานประกอบการอาจต้องปิดตัวลง อันเนื่องจากความกังวลด้านสุขอนามัยและความต้องการที่จะลดความเสี่ยงที่เกิดจากแพร่กระจายของเชื้อโรคทำให้ผู้บริโภคหันไปใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ใช้แล้วทิ้ง เพราะเชื่อว่ามีความปลอดภัยกว่าและดูเหมือนว่าผลกระทบดังกล่าวจากไวรัสโคโรน่า (Covid-19) จะส่งผลระยะยาวต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในอนาคตอีกด้วย

แต่ในความเป็นจริงแล้ว บรรจุภัณฑ์แบบใช้ซ้ำยังมีความปลอดภัยหากมีการจัดการที่เหมาะสม โดยอ้างอิงจากข้อมูลขององค์กรพัฒนาเอกชน UPSTREAM ประเทศสวิตเซอร์แลนด์, เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2563 ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ข้อมูลประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการนำกลับมาใช้ใหม่ของบรรจุภัณฑ์อาหารและบรรจุภัณฑ์อื่น ๆ และวิธีการจัดการอย่างเหมาะสมเพื่อให้ปลอดภัยจากการแพร่กระจายของไวรัสโคโรน่า (Covid-19) ดังนั้นเพื่อการดำรงอยู่ของธุรกิจที่มีแนวความคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อสิ่งแวดล้อม (sustainability) ควบคู่ไปกับการดูแลด้านสุขอนามัย ผู้ประกอบการต้องปรับตัวและสร้างระบบการบริหารจัดการอย่างเข้มงวดเพื่อให้ผู้บริโภคได้เกิดความมั่นใจรวมถึงการประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ และการปฏิบัติตนที่เหมาะสมโดยไม่ละเลยต่อปัญหาใด ๆ
ทั้งในด้านของการรักษาสิ่งแวดล้อมหรือความปลอดภัยด้านสุขอนามัย และเพื่อการดำรงอยู่ของธุรกิจอย่างยั่งยืน

ข้อมูลอ้างอิง
https://www.foodpackagingforum.org/news/reusable-food-packaging-and-novel-coronavirus
https://www.globaldata.com/sustainability-takes-backseat-as-apac-companies-shift-to-plastic-packaging-to-
avoid-outspread-of-covid-19-says-globaldata/
https://www.globaldata.com/sustainability-takes-backseat-as-apac-companies-shift-to-plastic-packaging-to-
avoid-outspread-of-covid-19-says-globaldata/

Loading

บทความที่เกี่ยวข้อง