ตกม้าตาย เพราะเงื่อนไข L/C

คำกล่าวที่ว่า “มี L/C แล้วปลอดภัย อย่างไรก็ได้เงินแน่ ๆ ” อาจไม่แน่เสมอไป หากผู้ส่งออกละเลย ไม่ใส่ใจตรวจสอบ L/C ที่ได้รับมาให้ถี่ถ้วนพอ

แชร์โพสต์นี้

cover-ตกม้าตาย เพราะเงื่อนไข LC

L/C หรือ Letter of Credit แม้จะเป็นหนึ่งในวิธีการชำระเงินค่าสินค้าที่ผู้ส่งออกชอบเพราะมีความเสี่ยงต่ำ เนื่องจากธนาคารผู้เปิด L/C จะเป็นผู้รับภาระในการชำระค่าสินค้าให้แก่ผู้ส่งออกหากผู้ซื้อไม่ชำระค่าสินค้า แต่ในความเสี่ยงต่ำที่ว่านี้ก็มีความเสี่ยงแฝงอยู่เหมือนกัน

ดังกรณีที่เกิดขึ้นกับผู้ส่งออกรายหนึ่งซึ่งจำต้องยอมถูกหักรายได้ที่ควรจะได้จากการจำหน่ายสินค้าไปเป็นค่าปรับถึง 30% ด้วยเหตุเพียงเพราะผู้ส่งออกอ่านเงื่อนไขใน L/C ไม่ละเอียดถี่ถ้วน ทำให้เข้าใจผิดคิดว่าค่าปรับการส่งสินค้าล่าช้าซึ่งระบุไว้ใน L/C ที่ 3% นั้น เป็นอัตราปรับส่งสินค้าล่าช้าโดยไม่กำหนดระยะเวลาแต่ในความเป็นจริง L/C ดังกล่าวกำหนดค่าปรับส่งสินค้าล่าช้าเป็นรายวัน เมื่อผู้ส่งออกส่งสินค้าลงเรือล่าช้าไป 10 วัน จึงทำให้ผู้ส่งออกรายนี้ถูกหักรายได้ที่ควรจะได้รับจากการจำหน่ายสินค้าไปเป็นค่าปรับถึง 30% ของมูลค่าที่ระบุใน L/C

ดังนั้น การตรวจสอบความถูกต้อง รวมถึงเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ระบุใน L/C มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง หากผู้ส่งออกไม่ได้ปฏิบัติตามรายละเอียดใน L/C อย่างถูกต้องและครบถ้วนแม้เพียงเล็กน้อยก็อาจเป็นประเด็นให้ธนาคารผู้เปิด L/C ปฏิเสธการจ่ายเงินให้กับผู้ส่งออกได้ ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับ L/C ผู้ส่งออกสามารถสอบถามกับธนาคารที่ทำธุรกรรมด้วยเป็นประจำหรือติดต่อที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ฝ่ายธุรกิจธนาคาร โทร. 0 2271 2540, 0 2617 2241 เพื่อรับคำแนะนำและป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการส่งออกสินค้าตามเงื่อนไข L/C ในอนาคต

ที่มา: ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK)

บทความที่เกี่ยวข้อง

Bitcoin Economy

อนาคตของโลกการเงิน ค