อัญมณีไทย ใคร ๆ ก็ต้องมนต์

เครื่องประดับเป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้สวมใส่คู่กับเครื่องแต่งกายมายาวนานตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ดูได้จากการขุดค้น ทางประวัติศาสตร์พบว่ามนุษย์มีการใช้ เครื่องประดับตั้งแต่ แหวน สร้อย กําไล ต่างหู กระพรวน ห่วงคอ ซึ่งทํามาจาก กระดูกสัตว์ งาช้าง เปลือกหอย หรือ สําริด มีการสืบทอดการใช่เรื่อยมาตาม ความเชื่อควานิยม วัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่

แชร์โพสต์นี้

cover-อัญมณีไทย ใคร ๆ ก็ต้องมนต์

ในยุคอียิปต์โบราณมีการค้นพบการใช้เครื่องประดับมากมาย โดยเฉพาะ “ทองคํา” ซึ่งมีการค้นพบในสุสานของพระนางคลีโอพัตราและพระนางเนร์เฟอติตี ซึ่งเครื่องประดับเป็นตัวบ่งบอกถึงฐานะ ลําดับชั้นในกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น กษัตริย์ เชื้อพระวงศ์ ขุนนาง หัวหน้าชนเผ่า จนถึงบุคคลทั่วไป ปัจจุบันมีการใช้เครื่องประดับเป็นเครื่องรางป้องกันภยันตราย กระทั่งสามารถใช้แทนเงินได้อีกด้วย

ในแต่ละประเทศมีความนิยมอัญมณีแตกต่างกัน เช่น สิงคโปร์นิยมเครื่องประดับทองเพื่อการลงทุนและเก็งกําไร สหรัฐอเมริกาและเยอรมณีนิยมเครื่องประดับเงิน ฮ่องกง เบลเยียม อินเดีย นิยมเครื่องประดับเพชร สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ ฝรั่งเศส นิยมเครื่องประดับเทียม ในขณะที่อัญมณีสังเคราะห์ได้รับความนิยมทั้งในกลุ่มวัยรุ่น และวัยทํางานทั่วโลก เนื่องจากเป็นสินค้าแฟชั่น ทันสมัย ราคาย่อมเยา เหมาะที่จะสวมใส่ในชีวิตประจําวัน

ความต้องการอัญมณีและเครื่องประดับไม่เพียงเฉพาะสําหรับผู้หญิง แต่ปัจจุบันตลาดอัญมณีเครื่องประดับเฉพาะกลุ่ม (Niche Market) มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นอัญมณีเครื่องประดับในกลุ่ม Metro Men สําหรับผู้ชาย อัญมณี เครื่องประดับสําหรับกลุ่ม LGBT อัญมณีเครื่องประดับสําหรับสัตว์เลี้ยง อัญมณีเครื่องประดับสําหรับโอกาสสําคัญต่าง ๆ (The Moment) รวมไปถึงการนําอัญมณีเครื่องประดับมาใช้เป็นเครื่องรางของขลัง (Spiritual Power) มีการสะสมอัญมณีเครื่องประดับเป็นผลงานศิลปะ (Heritage and Craftsmanship) หรือการสะสมเพื่อลงทุน (Beyond Jewelry)

ไทยเป็นตลาดค้าพลอยสีที่ใหญ่แห่งหนึ่งของโลก มีช่างฝีมือในการเผาพลอย ทําสี ตั้งนํ้าพลอยได้สวยงาม มีทักษะและฝีมือที่ประณีตในการออกแบบและขึ้นรูปเครื่องประดับ แต่ยังขาดแคลนวัตถุดิบ โดยเฉพาะพลอยดิบ เทคโนโลยีใหม่ ๆในการประดิษฐ์เครื่องประดับ รวมทั้งบุคลากรด้านฝีมือแรงงานเพื่อออกแบบและผลิตสินค้าที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ จึงจําเป็นต้องมีการพัฒนาและขยายตลาด เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและสร้างภาพลักษณ์สินค้าไทยในระดับสากล การออกแบบอัญมณีเครื่องประดับให้เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละกลุ่ม รวมถึงการสร้างเรื่องราว (Story) ให้กับสินค้าเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าได้เป็นอย่างดี

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศไทยอย่างมหาศาล ไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับติด 1 ใน 15 ของโลก เฉพาะ 11 เดือนแรกของปี 2560 มีมูลค่า การส่งออกกว่า 12,000 ล้านเหรียญสหรัฐ นับเป็นสินค้าส่งออกหลักอันดับ 3 ของประเทศ ปัจจุบันมีการจ้างงานในอุตสาหกรรมประมาณ 1 ล้านคน ตลาดส่งออกที่สําคัญของไทย คือ ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา เยอรมณี เบลเยี่ยม อินเดีย สหรัฐอาหรับเอมิเรต และอังกฤษ รัฐบาลมีนโยบายที่จะส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการค้าอัญมณีและเครื่องประดับของโลก และผลักดันให้งานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยติดอันดับ 3 ของโลก

ยกระดับมาตรฐานช่างฝีมือไทยสู่สากล ติดต่อสํานักส่งเสริมการค้าสินค้าไลฟ์สไตล์ 02-507-8392-3

Loading

บทความที่เกี่ยวข้อง

BCG ECONOMY

เศรษฐกิจฉบับ BCG เส้

Loading