มองอนาคตให้ขาด เพื่อธุรกิจที่ยั่งยืน

คุณสรกิจ มั่นบุปผชาติ รองเลขาธิการ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ชวนทำความเข้าใจประเด็น ‘การทำธุรกิจอย่างยั่งยืน’ สำหรับผู้ประกอบการไทยที่กำลังพัฒนธุรกิจ และผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่กำลังมองหาช่องทางสร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจ

แชร์โพสต์นี้

cover-มองอนาคตให้ขาด เพื่อธุรกิจที่ยั่งยืน

‘ยั่งยืน’ คืออะไร

คำว่า ‘ยั่งยืน’ อาจไม่ใช่ในแง่ของระยะเวลาหรือยอดขายที่เป็นตัวเลขที่ประเมินค่าความสำเร็จของธุรกิจ เพราะต่างคน ต่างธุรกิจ ต่างความคิด แต่โดยรวมแล้วหมายถึงการที่ธุรกิจนั้น ๆ สามารถดำรงอยู่ได้โดยบรรลุวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งธุรกิจ และสามารถปรับตัวไปพร้อมกับการพัฒนาสังคมสิ่งแวดล้อมโดยรอบข้าง ท่ามกลางยุคสมัยเทคโนโลยี สภาพแวดล้อม สงครามการค้าความต้องการ และกระแสนิยมของผู้ซื้อที่เปลี่ยนไป

ความยั่งยืน เกี่ยวข้องกับรูปแบบวิถีการดำเนินชีวิต สภาพสังคม และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลา ในอดีตเรามักจะเริ่มทำธุรกิจด้วยการมองที่ตัวสินค้าก่อน เนื่องจากผู้บริโภคคำนึงถึงการใช้งานเป็นหลัก เช่น การเลือกซื้อขันน้ำเพียงเพราะต้องการใช้ตักน้ำ ซื้อยาสีฟันสำหรับใช้แปรงฟันให้สะอาด เป็นต้น แต่ปัจจุบันนั้นไม่ใช่อีกต่อไปแล้ว ผู้คนมีความเป็นปัจเจกบุคคลสูง มีการสร้างอัตลักษณ์ความเป็นตัวตนของตนเองมากขึ้น และมีสินค้าทางเลือกที่ตอบสนองความต้องการได้ตรงจุดมากขึ้น ดังนั้น หากต้องการให้ธุรกิจเราเติบโตและดำเนินไปอย่างมั่นคงยั่งยืน ผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึงสิ่งอื่นๆที่มากกว่าการมองแค่ตัวสินค้าและการใช้งานเพียงอย่างเดียว กล่าวคือ การทำธุรกิจที่ยั่งยืนไม่ใช่เพียงการโฟกัสที่ตัวสินค้าเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมองให้ขาดว่าลูกค้าต้องการอะไร เพื่ออะไร

ทำอย่างไรให้ ‘ยั่งยืน’

หากกำลังจะเริ่มธุรกิจ แนะนำว่า การทำธุรกิจที่มาจากความคุ้นเคยหรือเกี่ยวข้องโดยตรงนั้นสามารถต่อยอดได้ง่ายกว่า หรืออย่างน้อยสามารถหาผู้เชี่ยวชาญมาเป็นฟันเฟืองช่วยในการดำเนินธุรกิจได้มากกว่า เช่น หากเราพักอาศัยอยู่แถวสกลนคร แม้เราจะไม่เคยทำผ้าย้อมครามมาก่อน แต่เพราะเรารู้จักชาวบ้านในละแวกนั้น เราเห็นวิธีการต่าง ๆและคุ้นเคย ก็จะช่วยให้เราต่อยอดและหาคอนเนคชั่นได้ง่าย เป็นต้น กล่าวคือ ‘โอกาส’ ที่เราจะประสบความสำเร็จมีมากกว่าการทำธุรกิจที่มาจากความชอบเพียงอย่างเดียว

ในการทำธุรกิจ เราทุกคนต่างมีสิทธิ์ว่าจะเลือกทำหรือไม่ทำอะไร แต่หลายครั้งเรามักจะลืมมองภาพความเป็นจริง และขาดการคาดการณ์ไปถึงอนาคตเพื่อค้นหาว่าอะไรที่จะตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าจริงๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน

ยกตัวอย่าง การทำธุรกิจ โฮเทลซัพพลาย (Hotel Supply) หรือการทำของใช้ต่างๆ ให้แก่โรงแรม เช่น สบู่ ยาสระผม ผ้าปูที่นอน ฯลฯ ผู้ประกอบการบางรายอาจคิดเพียงแค่ผลิตให้เฉพาะโรงแรม 5 ดาว เพราะคิดว่าคู่แข่งน้อย เนื่องจากสินค้าจะมีระดับกว่า แตกต่างจากท้องตลาดทั่วไป ทำให้ถูกลอกเลียนได้ยากกว่า แต่ในมุมการทำธุรกิจแบบยั่งยืน เราควรจะวิเคราะห์ว่า เทรนด์ของอนาคตอันใกล้นี้ธุรกิจโรงแรมจะเป็นอย่างไรต่อไป พิจารณาจากความต้องการของผู้บริโภค (Demand) ว่าเขาต้องการอะไรจากการพักโรงแรมบ้าง ต้องการความสะอาดและคุณภาพโดยรวมดี เดินทางสะดวก โดยไม่จำเป็นต้องหรูหราเสมอไป หรือสำหรับนักธุรกิจที่มาทำงาน สระว่ายน้ำหรือร้านอาหารอาจไม่จำเป็น นั่นหมายความว่าตลาดของโรงแรม 5 ดาวจะลดลง แต่อาจมีโรงแรมระดับ 2-4 ดาวหรือโรงแรมสไตล์สบายๆ (Cozy Hotel) เน้นบรรยากาศดีๆ เกิดขึ้นอีกจำนวนมาก

จากนั้นมาวิเคราะห์กันว่าโรงแรมที่กำลังจะเป็นตลาดหลักของเรานั้นต้องการอะไร เมื่อโรงแรมมีขนาดเล็กลง ได้รับค่าเช่าถูกลงนำไปสู่การลดต้นทุน แล้วเราจะพัฒนาอะไรเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ยกตัวอย่าง ผ้าปูที่นอน ที่ไม่ว่ายังไงทุกโรงแรมก็ต้องใช้ ปกติผ้าปูที่นอนของโรงแรมทั่วไปจะซักได้ประมาณ 100 ครั้ง แต่หากผลิตผ้าปูที่นอนที่ทออย่างทนทานมากขึ้น แล้วสามารถซักได้ประมาณ 120 ครั้ง ก็ถือว่า โรงแรมสามารถลดต้นทุนไปได้ถึง 20% 

หากโรงแรมประสบความสำเร็จ มีกำไรอยู่ได้ยาวนานขึ้น เช่นนั้นแล้ว ธุรกิจโฮเทลซัพพลายของเราก็จะอยู่ได้ในระยะยาวด้วยหรือไม่อีกหนึ่งหนทาง คือ การสร้างความแตกต่าง เช่น อีกไม่นานสังคมทั่วโลกจะเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ดังนั้น หากเราสามารถผลิตผ้าปูที่นอนที่ช่วยให้ผู้สูงอายุได้นอนสบาย รู้สึกนุ่มกว่าผ้าทั่วไป หรือทอด้วยผ้าพิเศษ เคลือบยูวีที่ช่วยให้สกปรกยากขึ้น ไอเดียที่เป็นรายละเอียดที่แตกต่างเหล่านี้ก็ทำให้สามารถเพิ่มยอดขาย และสร้างความยั่งยืนให้ธุรกิจของเราได้เช่นกัน แต่ต้องไม่ขายในราคาที่สูงโดดจากคู่แข่งรายอื่นเกินไป

ประโยชน์จาก ‘ความยั่งยืน’

เรื่องความยั่งยืน ไม่ได้มีเพียงเจ้าของธุรกิจและลูกค้าเท่านั้นที่จะได้ประโยชน์ สิ่งแวดล้อมและสังคมโดยรวมก็ได้ประโยชน์ จากความยั่งยืนเช่นกัน และเป็นปัจจัยสำคัญทำให้ลูกค้ำมั่นใจที่จะใช้บริการธุรกิจของเราด้วย ยกตัวอย่างการต่อยอดจากธุรกิจโฮเทลซัพพลาย หากสินค้าที่เราผลิตให้โรงแรมริมทะเล อย่างน้ำยาทำความสะอาด มีส่วนผสมของสารเคมีในปริมาณมาก เมื่อโรงแรมปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำโดยรอบสารเคมีที่ผสมอยู่ก็จะทำให้ความสวยงมของธรรมชาติและทัศนียภาพนั้นลดน้อยลงไป ดังนั้น หากเรานำเสนอสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ก็จะส่งผลดีต่อโรงแรมด้วยเพราะเป็นการช่วยให้ทัศนียภาพที่สวยงาม ไม่ถูกทำลาย ทำให้ลูกค้ารู้สึกดีในการทำธุรกิจด้วย แบบนี้เรียกว่ำช่วยให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์จากความยั่งยืนอย่างแท้จริง

บทความที่เกี่ยวข้อง

Bitcoin Economy

อนาคตของโลกการเงิน ค