PDM Brand เมื่อวิกฤตคือโอกาสในตลาดยุคดิจิทัล

แชร์โพสต์นี้

TT-22-PDM

DITP พูดคุยกับ ดิว – ดุลยพล ศรีจันทร์ ผู้ก่อตั้ง PDM Brand สินค้าไลฟ์สไตล์ที่พลิกภาพ ‘เสื่อพลาสติก’ สู่ ‘พรมเมืองร้อน’ ถึงกลยุทธ์การค้ารูปแบบใหม่ๆภายใต้สถานการณ์ความไม่ปกติ

ตลาดเปลี่ยนเร็ว ดีไซน์ต้องเร็วกว่า

“ในช่วงแรกที่เริ่มต้นธุรกิจ ผมคิดอย่างเดียวว่าจะออกแบบอย่างไรให้ขายได้ ให้แบรนด์อยู่รอด มีเงินจ่ายลูกน้องและซัพพลายเออร์ให้ตรงเวลา ผมเพิ่งได้วางแผนธุรกิจจริงจังก็เมื่อเข้าสู่ปีที่ 5 แล้ว แต่ผมไม่เคยวางแผนระยะยาวแบบ 1 ปี 3 ปี 5 ปี ตามที่เขานิยมกันนะครับ ทีมงานผมวางแผนกันราย 2 เดือน หรืออย่างมากก็หนึ่งไตรมาสเท่านั้น เพราะความต้องการของตลาดทุกวันนี้เปลี่ยนเร็วมากเมื่อเทียบกับอดีต ยิ่งเราก้าวเข้าสู่โลกออนไลน์แล้ว ทุกอย่างก็ยิ่งเร็วแบบทวีคูณ จากเดิมที่
เราเคยใช้เวลาออกแบบ 3 เดือนแล้วนำสินค้าไปออกแฟร์ เพื่อรอลูกค้ามาสั่งซื้อ ตอนนี้เราเปลี่ยนมาทำงานขายคอนเซ็ปต์ก่อน ทำภาพเรนเดอร์สินค้าสวยๆ แล้วโพสต์ลงสื่อโซเชียล ถ้าดีไซน์ไหนมียอด like สูง มี comment เยอะ
มีคน share มาก ดีไซน์นั้นก็จะถูกนำไปพัฒนาเข้าสู่กระบวนการผลิตทันที นี่คือวิธีการที่เราทำงานกันทุกวันนี้ และถ้าเราอยากทำให้คนในสังคมรู้สึกว่า Product Design Matters จริงๆ หน้าที่ของเราก็คือการออกแบบสินค้าที่ผู้คนคุ้นเคยให้มันดียิ่งขึ้น ทำดีไซน์ให้มันน่าประทับใจขึ้นแบบเท่าทวีคูณ”

เปลี่ยนคนไม่รู้จัก ให้กลายเป็นลูกค้า

“PDM Brand เราเก็บข้อมูลลูกค้ามาตั้งแต่เริ่มต้นทำแบรนด์เลยครับ จากการบันทึกชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ แล้วค่อยๆ จัดระบบข้อมูลขึ้นมา เราทำการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อดึงผลลัพธ์มาใช้อย่างถูกต้อง ซึ่งช่วยให้เราทำ marketing funnel และออกแบบกลยุทธ์การตลาดที่สอดคล้องกับ customer journey ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในโซเชียลมีเดียของ PDM Brand เราเริ่มสร้าง awareness ด้วยการทำคอนเทนต์ที่เป็นประโยชน์กับผู้อ่าน สลับกับการโพสต์ภาพงานดีไซน์ที่เป็นแนวคิดผลิตภัณฑ์ จากนั้นลูกค้าเป้าหมายของเราก็จะเริ่มให้ความสนใจ เริ่มเข้าสู่ขั้นตอน consideration เช่นเขาจะคลิกหาข้อมูลเพิ่มเติม
จากเว็บไซต์ จากรีวิวที่น่าเชื่อถือ หรือสอบถามข้อมูลโดยตรงจากเรา จากนั้นก็เข้าสู่ขั้นตอน conversion คือกำลังจะตัดสินใจซื้อละ ซึ่งในขั้นนี้เราต้องทำให้ลูกค้าเป้าหมายรู้สึกดีกับสินค้าและบริการของเรามากที่สุด เขาต้องรู้สึกว่าสินค้าของ
เราตอบรับกับไลฟ์สไตล์ของเขาได้อย่างดี เป็นนาทีทองของการเปลี่ยนกลุ่ม เป้าหมายให้กลายเป็นลูกค้า ที่นอกจากจะรักในแบรนด์ของเราแล้วยังจะช่วยบอกต่อไปไปยังคนอื่นๆ ด้วย

“มันเหมือนการตีปิงปองสลับไปมาระหว่างโลกจริง และโลกดิจิทัลเพื่อเชื่อมกลุ่มเป้าหมายให้อยู่กับเราครบทุกแพลตฟอรม์ ”

ผมยกตัวอย่างการลองโพสต์ภาพ ‘ร่มลายทาง’ซึ่งเป็นภาพรีทัชในโซเชียลมีเดียนะครับ ภาพนี้สร้างกระแสได้แรงมากในเวลาอันสั้น พวกเรารู้เลยว่าถ้าทำออกมาจริงขายดีแน่นอน เราก็เริ่มเคลียร์แบบและเลือกผู้ผลิตกันเลย สรุปครั้งนั้นเราใช้เวลาแค่ 1 ชั่วโมงทดสอบหาดีมานด์ และขายร่มได้ 1,600 คันครับ ผมว่ากลยุทธ์การ
ทำงานบนโลกออนไลน์แบบนี้แหละที่ทำให้ PDM Brand ไม่เคยต้องสต๊อกสินค้า เราจะผลิตตามจำนวนที่ลูกค้าสั่ง เพราะลูกค้าส่วนใหญ่ของเราเขาพร้อมจะรอสินค้าได้ ที่สำคัญลูกค้าของเราจะได้รับสินค้าที่ดีไซน์ดี จากผู้ผลิตคุณภาพเยี่ยม ในราคาที่เหมาะสม เพราะเราตัดค่า GP ของห้างฯ ที่สูงถึง 35% ออกไปแล้ว”

ถอดรหัส Traditional Market VS Online Market แบบ PDM Brand

 Traditional MarketOnline Market
การวางแผนธุรกิจ1 – 5 ปี1 – 3 เดือน
การดีไซน์สินค้าใหม่ใช้เวลา 3 เดือน พร้อมชิ้นงานต้นแบบใช้เวลา 1 สัปดาห์ด้วยภาพเรนเดอร์
การวัดผลงานดีไซน์ยอดสั่งซื้อจากงานแฟร์ยอด Like ยอด Comments ยอด Share
การบริหารคลังสินค้ามีสต๊อกสินค้าก่อนขาย เงินจมผลิตตามยอดสั่งซื้อ เงินไม่จม
การตั้งราคาขายGP ห้างฯ ทำให้สินค้าราคาสูงขายตรงถึงลูกค้า ตั้งราคาขายต่ำลงได้ 
การแนะนำสินค้าผ่านพนักงานขายทุกช่องทางออนไลน์
อิทธิพลของวิกฤตโควิด-19ไม่มีงานแฟร์ ขาดรายได้ขายผ่านแพลทฟอร์มออนไลน์ได้ 24/7

การตลาดบนโลกคู่ขนาน

“นอกจากการตลาดบนโลกดิจิทัลแล้ว ตอนนี้ PDM มีโครงการจะทำ window display แถวสามย่านครับ เราอยากปรากฏตัวในโลเคชั่นที่มีความแปลกประหลาดสักหน่อย เช่นมีโรงเรียนกวดวิชาอยู่ตรงข้าม ด้านข้างเป็นร้านป้าขายข้าวผัด อีกด้านเป็นร้านขายบะหมี่เยื้องๆ กันเป็นร้านตัดผม อะไรประมาณนี้ โดย window display นี้มีขนาดราว 3 X 3 เมตร สูง 4 เมตร และเราจะเชิญเพื่อนๆ ศิลปินมา
ร่วมแสดงงานอินสตัลเลชั่นกับเรา โดยใช้งานของ PDM เป็นองค์กระกอบ งานนี้ผมต้องการจะตอกย้ำหัวใจหลักของแบรนด์เรื่อง Enhance Living ครับ อยากสื่อสารว่าเราเปรียบเสมือนผงชูรสที่เติมความกลมกล่อมในชีวิตผู้คน และผมจะทำ QR code ไว้ด้านหน้าดิสเพลย์นี้เพื่อให้คนลิงค์ไปที่เว็บไซต์ของเราได้ นอกจากนี้ผมก็อยากลองทำ physical showroom แบบไม่มีพนักงานขายด้วย อยากใช้
ประโยชน์สูงสุดจากเทคโนโลยี เช่นมีกล้องวงจรปิดแบบเรียลไทม์ ลูกค้าเข้ามาก็สามารถรับข้อมูลต่างๆ ผ่าน QR code หรือพูดคุยกับพนักงานขายผ่านแอพฯ เรื่อยไปจนถึงกดสั่งซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ได้ตรงนั้นทันที แต่ลูกค้าไม่ต้องหิ้วของกลับเอง เพราะเดี๋ยวเราจัดส่งให้ถึงบ้าน”

สวนกระแสวิกฤตโควิด

“ในช่วงแรกผมก็กลัวนะครับ เราทำงานกันหนักมากเพื่อปรับกลยุทธ์ แต่จากการวิเคราะห์ข้อมูลเราพบว่ากลุ่มเป้าหมายเราใช้เว็บไซต์ในช่วงวิกฤตโควิดนี้มากขึ้น และด้วยมาตรการ Work From Home ดันทำใหผู้คนมีเวลาอยู่กับบ้านมาก และหันมาให้ความสำคัญกับการซื้อของตกแต่งมากขึ้น จากจุดนั้น PDM Brand เร่งใช้เครื่องมือสื่อสารบนโลกออนไลน์ทุกช่องทางเลยครับ ทั้งเว็บไซต์ เฟสบุ๊ค ไอจี ทวิตเตอร์ LINE@ เพื่อสื่อสารกับลูกค้าเป้าหมายของเรา และใช้ SEO ในการดันเว็บไซต์ให้ติดหน้าแรกในการค้นหาให้ได้ แต่กว่าจะมาถึงจุดนี้ เราทำงานหนักมากครับ ทั้งในเรื่องงานดีไซน์ที่เป็นจุดแข็งของแบรนด์ การพัฒนาคอนเทนต์ บนสื่อออนไลน์ การทำงานหลังบ้านที่เป็นตัวเลขทั้งหมด เช่นว่าเราลงเงินเท่านี้แล้วขาย
ได้กำไรกี่เปอร์เซ็นต์ เว็บมีคนเข้าถึงเท่านี้แต่ทำไมขายของไม่ได้ ต้องหาวิธีติดตามลูกค้าเก่าให้กลับมาซื้อซ้ำ วิเคราะห์โอกาสการซื้อสินค้าอื่นจากจำนวนเงินที่ลูกค้าใช้จ่าย สำหรับผมทุกอย่างมันต้องเป็นเหตุเป็นผลกัน”

บทความที่เกี่ยวข้อง