รู้ก่อนรุก “แฟรนไชส์” ในฟิลิปปินส์

ฟิลิปปินส์จถือเป็นตลาดใหญ่ที่กำลังได้รับความสนใจจากบรรดาธุรกิจแฟรนไชส์ทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจแฟรนไชส์เกี่ยวกับการดูแลรักษารถยนต์ และธุรกิจแฟรนไชส์อาหารและเครื่องดื่ม

แชร์โพสต์นี้

cover-รู้ก่อนรุก “แฟรนไชส์” ในฟิลิปปินส์

ปัจจุบันการขยายธุรกิจแฟรนไชส์ในฟิลิปปินส์กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศเพิ่มสูงขึ้น ยิ่งเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรที่มากเป็นอันดับ 2 ของอาเซียนฟิลิปปินส์จึงถือเป็นตลาดใหญ่ที่กำลังได้รับความสนใจจากบรรดาธุรกิจแฟรนไชส์ทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจแฟรนไชส์เกี่ยวกับการดูแลรักษารถยนต์ และธุรกิจแฟรนไชส์อาหารและเครื่องดื่ม เช่น ร้านอาหารจานด่วน ร้านกาแฟและเบเกอรี ซึ่งแฟรนไชส์ของไทยที่รุกเข้าไปในตลาดนี้ได้สำเร็จ ได้แก่ แบล็คแคนยอน และโคคาสุกี้ อย่างไรก็ตาม ยังมีสิ่งที่ผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ไทยที่สนใจรุกตลาดฟิลิปปินส์ต้องทำความเข้าใจคือเจ้าของแฟรนไชส์จะต้องขายสิทธิ์ให้แก่ผู้ประกอบการท้องถิ่น ภายใต้การจัดทำสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์ (FA) และบริษัทต่างชาติที่จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท (ถือหุ้นเองทั้งหมด) เพื่อขยายสาขาแฟรนไชส์ในฟิลิปปินส์ต้องมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่ต่ำกว่า 2.5 ล้านเหรียญสหรัฐ (87 ล้านบาท) และบริษัทแม่ต้องมีทรัพย์สินสุทธิอย่างน้อย 200 ล้านเหรียญสหรัฐ (7 พันล้านบาท) จึงส่งผลให้การลงทุนจำกัดเฉพาะบริษัทต่างชาติรายใหญ่เท่านั้น

นอกจากข้อจำกัดในด้านการทำธุรกิจ ทำเลก็เป็นอีกปัจจัยที่ธุรกิจแฟรนไชส์ต้องคำนึงถึง Metro Manila หรือเขตมหานครเป็นตัวเลือกที่ควรมองหาเป็นลำดับแรก ๆ เนื่องจากเป็นเขตชุมชนเมืองที่ประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นและเป็นศูนย์รวมของกลุ่มผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสูง ซึ่งจะช่วยให้การเจาะตลาดลูกค้าทั้งชาวฟิลิปปินส์และนักท่องเที่ยวต่างชาติทำได้ง่ายขึ้นนั่นเอง

ที่มา: ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM Bank)

บทความที่เกี่ยวข้อง

Bitcoin Economy

อนาคตของโลกการเงิน ค