ข้อมูลการค้ารอบโลก ประจำเดือนกรกฎาคม – กันยายน 2563

ส่องตลาดเนเธอร์แลนด์ สาธารณรัฐประชาชนจีน บังกลาเทศ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สวิตเซอร์แลนด์และสหรัฐอเมริกา แล้วมาดูว่ามีธุรกิจอะไรน่าสนใจในช่วงเวลาที่เกิดวิกฤติไวรัสโคโรน่า (COVID-19)

แชร์โพสต์นี้

cover-Global trade insights during the COVID-19 pandemic

เนเธอร์แลนด์ 

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเฮก
ข้อมูลการบริโภคและพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของคนดัตช์ หลังวิกฤติไวรัสโคโรน่า (COVID-19)

กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ รายงานว่าปริมาณการผลิตน้ำตาลในสหรัฐฯ ในเดือนพฤศจิกายนปี
2562 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญกว่า 572,000 ตัน เมื่อเทียบกับปริมาณการผลิตน้ำตาลในเดือนตุลาคม อันเนื่องจากปัจจัยด้านสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงซึ่งกระทบต่อปริมาณผลผลิต ซึ่งส่งผลกระทบให้เกิดภาวะขาดแคลนน้ำตาล ทำให้ราคาน้ำตาลปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มภายในประเทศที่ต้องการบริโภคน้ำตาลจำนวนมาก อย่างไรก็ตามขณะนี้กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ยังไม่ได้เปิดเผยมาตรการในการแก้ไขแนวโน้มปริมาณน้ำตาลในประเทศที่ปรับตัวลง มีความเป็นไปได้ว่าสหรัฐฯ จะนำน้ำตาลสำรอภายในประเทศออกมาใช้และนำเข้าปริมาณน้ำตาลส่วนที่ขาดแคลนจากต่างประเทศ เช่น เม็กซิโก และอินเดีย

 

สาธารณรัฐประชาชนจีน

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองกวางโจว
Taobao กระตุ้นการขายแบบใหม่ด้วย 4 เกมส์สถานการณ์จำลอง

ธุรกิจแบบ E-commerce ในประเทศจีนมีการแข่งขันกันสูงมาก แม้จีนจะมีจำนวนผู้ช็อปปิ้งออนไลน์สูงที่สุดในโลก แต่ก็มีจำนวนแพลตฟอร์ม E-commerce และร้านค้าออนไลน์จำนวนมหาศาลเช่นกัน ดังนั้นทำให้ต่างก็ต้องหาจุดขายที่โดดเด่นมาดึงดูดลูกค้าโดยเฉพาะในช่วงวิกฤตการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ยกตัวอย่างเช่น Taobao เว็บไซด์ขายสินค้าออนไลน์ที่มีชื่อเสียงเว็บหนึ่งของจีน ได้ออกมาตรการในการช่วยเหลือร้านค้าบนแพลตฟอร์มหลากหลาย โดยเฉพาะการสนับสนุนร้านค้าให้ทำการไลฟ์สดขายสินค้า โดยในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มีจำนวนร้านค้าที่เข้าใช้ Taobao Live เป็นครั้งแรก เพิ่มขึ้นถึง 719% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า และล่าสุดมีการให้ผู้บริโภคร่วมเล่น เกมส์สถานการณ์จำลองบนแพลตฟอร์มเพื่อชิงรางวัลต่างๆ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ใหม่ที่น่าจับตามองว่าจะช่วยกระตุ้นยอดขายได้มากน้อยเพียงใด โดยในระยะนี้ผู้ประกอบการไทยควรติดตามสถานการณ์ตลาดและกลยุทธ์กระตุ้นการขายบนแพลตฟอร์ม E -commerce รูปแบบใหม่ๆ เพื่อนำมาปรับใช้กับสินค้าและบริการของบริษัทของตนเองต่อไป

 

บังกลาเทศ

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงธากา
วิกฤติ Covid-19 : E-Commerce ในบังคลาเทศ

ในภาวะวิกฤติการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) เช่นนี้ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า E-Commerce ได้เข้ามามีบทบาทและได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากในชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในบังคลาเทศ แต่ E-Commerce ในบังคลาเทศก็ไม่ได้ราบรื่นอย่างที่คิด โดยการประสบปัญหาหลักๆ คือการไม่ได้รับการสนับสนุนจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการอำนวยความสะดวกแก่ delivery man ซึ่งต้องถูกตรวจสอบอย่างเคร่งครัดจากเจ้าหน้าที่ระหว่างขนส่งสินค้าหลายที่หลายแห่งตลอดเส้นทางทำให้การส่งสินค้าล่าช้า รวมถึงปัญหาสินค้าไม่เพียงพอต่อการสั่งซื้อเนื่องจากการสะดุดของห่วงโซ่อุปทาน อีกทั้งปัญหาด้านการขนส่งสินค้าของ suppliers ไม่สามารถกระทำได้อย่างต่อเนื่องอันเป็นผลสืบเนื่องจากการ lock down ประเทศรวมถึงการมีปัญหาเรื่องการเคลียร์สินค้าที่ท่าเรือด้วย แต่ถึงแม้กระนั้นหากมองในด้านของโอกาสที่ผู้ประกอบการไทยจะสามารถเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของส่วนแบ่งทางการตลาดที่ยังไม่ สามารถกระจายสินค้าได้อย่างเพียงพอต่อผู้บริโภคในบังคลาเทศ ก็ถือว่าเป็นนิมิตรหมายที่ดีที่ผู้ประกอบการไทยจะศึกษาข้อมูลถึงสภาพตลาด ปัญหา และกลยุทธ์ที่จะสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ โดยหากคิดในแง่ของการดำเนินธุรกิจในระยะยาวหลังจากวิกฤติการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ก็นับว่าคุ้มค่าไม่น้อยเลยทีเดียว

 

สาธารณรัฐฟิลิปปินส์

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมะนิลา
ตามดูพฤติกรรมผู้บริโภคฟิลิปปินส์ ชะลอซื้อสินค้าอะไรมากที่สุดในช่วง COVID-19

ในช่วงวิกฤติการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ผู้ประกอบการธุรกิจต่างๆ จำเป็นต้องปรับตัวในการเข้าถึงผู้บริโภคผ่านช่องทางออนไลน์ให้มากขึ้น เพราะผู้บริโภคมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป โดยส่วนใหญ่ต้องอาศัยอยู่ในบ้านและทำงานจากที่บ้านเพื่อป้องกันการติดเชื้อทำให้ผู้บริโภครับการสื่อสารและการบริโภคผ่านช่องทางออนไลน์เป็นหลัก โดยกลุ่มสินค้าที่จำเป็นในชีวิตประจำวันยังคงมีปริมาณความต้องการซื้ออยู่หรือเพิ่มสูงขึ้นในบางสินค้า สำหรับสินค้ากลุ่มฟุ่มเฟือยและ/หรือสินค้า High-Involvement อาจจะเป็นเรื่องยากที่จะกระตุ้นการขายในช่วงนี้เนื่องจากผู้บริโภคชะลอการใช้จ่ายในสินค้ากลุ่มนี้ไปอีกระยะหนึ่งจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายแต่ผู้ประกอบการไทยก็ยังจำเป็นที่จะต้องรักษาความสัมพันธ์กับคู่ค้าหรือลูกค้าในระยะยาวไว้ รวมถึงการปรับตัวและพัฒนาระบบการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับพฤติกรรมรูปแบบปกติใหม่ (New Normal) ในอนาคต เพราะหลังจากวิกฤติการดังกล่าวเมื่อลูกค้ามีความพร้อมที่จะซื้อก็จะทำให้นึกถึงและจะเป็นแบรนด์ที่ถูกเลือก ซึ่งอาจเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยที่อาจได้ลูกค้าใหม่ๆ ในอนาคต

 

สวิตเซอร์แลนด์

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต
ไวรัสโคโรน่าเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคสวิส

การปิดเมืองต่อสู้กับการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคสวิส รวมทั้งลดการใช้เงินสดและเครื่องกดเงิน ซึ่งโดยส่วนใหญ่นิยมใช้ระบบ E-Banking แต่ในส่วนของการบริโภคสินค้าทั่วไปจากรายงานผลการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคของ PostFinance ได้ให้ข้อคิดเห็นว่าหลังจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) พฤติกรรมของผู้บริโภคชาวสวิสอาจกลับมาเหมือนเดิม คงไว้แต่อาจมีความคุ้นเคยกับระบบการซื้อขายสินค้าและการทำธุรกรรมทางออนไลน์ที่เป็นที่นิยมมากขึ้น ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมผู้ประกอบการไทยจึงควรปรับตัว และสร้างความน่าเชื่อถือและสร้างแพลตฟอร์มของตนทางการค้าออนไลน์โดยเน้นเป็นช่องทางหลักที่จะนำไปสู่โอกาสทางการค้าในอนาคตต่อไป

 

สหรัฐอเมริกา

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครนิวยอร์ก
พฤติกรรมผู้บริโภคชาวอเมริกันหลังภาวะวิกฤติ COVID 19

ข้อจำกัดของวิถี NEW AB-NORMAL ที่จะถูกนำมาใช้เมื่อรัฐต่างๆได้ผ่อนปรนมาตรการและเปิดให้ธุรกิจกลับมาดำเนินกิจการดังเดิมดังกล่าวได้ส่งผลทำให้ผู้บริโภคชาวสหรัฐฯ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเพื่อการอยู่รอด โดยส่งผลให้เกิดการละทิ้งวิถีเดิมและเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค ซึ่งผู้บริโภคจะมีพฤติกรรมระวังตัว หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่เสี่ยงและแสวงหาความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริโภคกลุ่ม Gen-Z และ Millennials ที่เข้าสู่การบริโภคสินค้าทางตลาดสื่อออนไลน์และการเสพสื่อดิจิทัลมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งการความขาดแคลนของสินค้าอุปโภค บริโภคบางชนิด ทำให้ผู้บริโภคมองหาสินค้าแบรนด์ใหม่ทดแทน ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีกับผู้ผลิตสินค้าไทยในการแนะนำสินค้าเข้าสู่ตลาดโดยเฉพาะในกลุ่มลูกค้ากลุ่ม GEN Z ในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากและเปิดกว้างพร้อมที่จะทดลองแบรนด์ใหม่ ดังนั้นผู้ประกอบการไทยควรใช้โอกาสในการลงทุนและส่งผ่านข้อมูลไปยังกลุ่มเป้าหมายเพื่อการตลาดเชิงรุกอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถเจาะตลาดผ่านกลุ่มดังกล่าวและขยายไปสู่กลุ่มอื่น ๆ ได้อีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง