บริการที่ดูแลภายในนั้น ได้แก่ การให้คําปรึกษาด้านโภชนาการเพื่อสุขภาพที่ดี การแพทย์เชิงป้องกันเฉพาะบุคคล กล่าวคือกระบวนการรักษาที่เริ่มตั้งแต่การทํานายสุขภาพในอนาคต การป้องกัน และการเพิ่มสมรรถภาพร่างกายให้แข็งแรง รวมไปถึงการฟื้นฟูส่วนที่สึกหรอของร่างกาย ในส่วนของบริการที่ดูแลภายนอก ได้แก่ ธุรกิจความงาม การชะลอวัย รวมทั้งบริการสปา และที่สําคัญก็คือการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism) ที่เน้นกิจกรรมเพื่อสุขภาพในโปรแกรมของการท่องเที่ยว ซึ่งคาดว่าในปี 2563 จะมีการเติบโตทั่วโลกเฉลี่ย 7% ต่อปี มีมูลค่ากว่า 27 ล้านล้านบาท แสดงให้เห็นถึงโอกาสทางธุรกิจรูปแบบใหม่ ๆ ในการดูแลสุขภาพที่กําลังเป็นที่นิยมทั่วโลกในขณะนี้
โลกของเราในปัจจุบัน กําลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จากประชากรกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ (ผู้ที่เกิดในช่วง พ.ศ. 2489 – 2507) ที่มีปริมาณมากกว่าวัยเจเนอร์เรชั่นวาย (ผู้ที่เกิดในช่วง พ.ศ. 2523 – 2540) ที่นิยมการใช้ชีวิตแบบอิสระและไม่นิยมการแต่งงานมีครอบครัว ทําให้ปริมาณประชากรสูงวัยสวนทางกับปริมาณเด็กที่เกิดใหม่ อีกทั้งกลุ่มเบบี้บูมเมอร์นี้เป็นกลุ่มที่มีฐานะดี และมีพฤติกรรมการกินอยู่สบาย ตามใจตัวเอง จึงเป็นการเพิ่มอุปสงค์ การจับจ่ายและเพิ่มโอกาสสินค้าและบริการเชิงสุขภาพมากขึ้น
นอกจากนี้ สภาวะสังคมที่เร่งรีบ การทํางานที่กดดันทําให้เกิดความเครียด รวมทั้งพฤติกรรมการใช้ชีวิตในเรื่องของการกินที่มักจะกินอาหารที่เน้นรสชาติ และหน้าตาของอาหาร มากกว่าคุณค่าทางโภชนาการ จนเกิดเป็นโรค
ไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases, NCDs) เช่น โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคอ้วน
สิ่งเหล่านี้ก็เป็นอีกปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดกระแสคนรักสุขภาพ ทําใหhแนวโนhมการดูแลสุขภาพเปลี่ยนไป จากอดีตที่รอวันเจ็บป่วยแล้วคอยทําการรักษา เปลี่ยนเป็นการดูแลสุขภาพและชะลอวัย จนสามารถทําให้เรามีชีวิตที่ยืนยาวอย่างมีความสุขขึ้น และสามารถกําหนดสุขภาพได้ด้วยตนเอง ทําให้เกิดการขยายตัวของ Wellness Industry อย่างกว้างขวาง
หลายประเทศ ต่างใช้แนวคิด Wellness นี้ในการสร้างเม็ดเงินเข้าประเทศ ด้วยบริการที่มีเอกลักษณ์ไม่ซํ้าแบบใครและสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ให้กับผู้บริโภค อย่างเช่น สปาไร้เสียง (Silent Spa) ของกลุ่มโรงแรม Vamed Vitality World ในออสเตรียที่มีการออกแบบอาคารให้มีความพิเศษคล้ายกับวิหารของศาสนาคริสต์ ทําให้ผู้มาใช้บริการรู้สึกว่ากําลังพักผ่อนอยู่ในสถานที่สงบ ปราศจากเสียงรบกวน หรือ ธุรกิจจัดระเบียบความฝันอย่าง Dream Reality Cinema ในรัฐแคลิฟอร์เนียที่นําผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความฝันของมนุษย์มาสร้างธุรกิจโดยการจําลองสถานการณ์เพื่อกระตุ้นให้เกิดความฝันที่สร้างความสุข ช่วยแก้ปัญหาการนอนหลับ ลดความเครียดกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ เป็นต้น
สําหรับประเทศไทยที่มีศักยภาพด้านการแพทย์แผนโบราณแพทย์แผนไทย และการรักษาด้วยสมุนไพรที่หลากหลายรวมทั้งการจัดการท่องเที่ยวในรูปแบบ Wellness Tourism อย่างครบวงจร ทําให้มีโอกาสสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจไทยได้อีกมาก จากข้อมูลของ Global Wellness Institute (GWI) พบว่าไทยมีรายรับจากการท่องเที่ยวแบบ Wellness Tourism เติบโตต่อเนื่องราว 7% ต่อปี ในช่วงปี 2556 – 2558 หรือคิดเป็นมูลค่าตลาดสูงถึงราว 3.2 แสนล้านบาท สูงเป็นอันดับที่ 13 ของโลก และเป็นอันดับ 4 ในทวีปเอเชีย รองจากจีน ญี่ปุ่น และอินเดีย โดยรายรับกว่า 90% ของไทยมาจากธุรกิจด้านความงามและการชะลอวัย ธุรกิจการแพทย์เชิงป้องกัน ธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงกีฬาและการผจญภัย
จุดแข็งของธุรกิจ Wellness ไทยคือการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาด้านสุขภาพที่มีอยู่อย่างหลากหลาย เช่น ธุรกิจสตูดิโอสอนการทําสมาธิและโยคะที่ประยุกต์ความรู้ด้านการทําสมาธิตามหลักพุทธศาสนา ธุรกิจสปาที่ใช้สมุนไพรหรือทรัพยากรในท้องถิ่นเพื่อสร้างประสบการณ์แปลกใหม่รวมถึงธุรกิจการสอนทักษะกีฬาประจําชาติอย่างมวยไทยที่กําลังเป็นที่นิยมในกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ หากผู้ประกอบการมีการปรับรูปแบบ แนวคิดในการให้บริการใหม่ ๆ ศึกษาผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ผสมผสานกับบริการที่มีอยู่แล้ว อย่างการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสมุนไพรที่หาได้ในท้องถิ่น ก็เป็นส่วนหนึ่งที่สามารถสร้างประสบการณ์ที่น่าประทับใจในการเสริมสร้างสุขภาพที่ดีและตอบสนองต่อความต้องการผู้บริโภคที่รักสุขภาพจนทําให้ประเทศไทยมีโอกาสก้าวเป็นเมืองหลวงของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของโลกได้
ที่มา:
– การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของ Global Wellness Institute (GWI) และ Euromonitor International
– https://businesslinx.globallinker.com
– www.smethailandclub.com