พูดอย่างกว้าง ๆ ฮิปสเตอร์เป็นคำที่ใช้เรียกหรืออธิบายถึงคนที่ชอบทำตัวแตกต่างจากคนส่วนใหญ่ในสังคม มีความเห็นว่าแม้ “ฮิปสเตอร์” จะมีความหมายถึงกลุ่มคนที่ทำอะไรแบบ “ไม่ตามใคร” และ “เป็นตัวของตัวเองสุด ๆ” แต่อันที่จริงแล้วฮิปสเตอร์คือกลุ่มที่ตามกระแสอย่างสุดโต่ง ต้องการเป็นที่ยอมรับ อยากให้คนเลียนแบบอย่าง และยิ่งไปกว่านั้นยังมีความเห็นว่าแท้จริงแล้ววิถีฮิปสเตอร์ก็อาจจะเกิดขึ้นจากกลยุทธ์ทางการตลาดก็ได้ เพราะด้วยพฤติกรรมการชอบประกาศความเป็นฮิปสเตอร์ของตัวเองออกไป ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Tumblr, Twitter, Instagram และ Facebook เป็นต้น ด้วยการเขียนถ้อยคำ และโพสต์ภาพถ่ายให้ทุกคนได้ชื่นชม แน่นอนว่าหากยอด Followers สูงก็ยิ่งทำให้เกิดความภาคภูมิใจแก่พวกเค้ามากยิ่งขึ้น เสมือนหนึ่งการสร้างกระแสความเป็นตัวตนดุจเน็ตไอดอลให้เกิดการยอมรับชื่นชมจากคนหมู่มากนั้นเอง
โดยพื้นฐานแล้ว ฮิปสเตอร์ คือกลุ่มบุคคลที่มีความคิดหัวก้าวหน้า รักธรรมชาติ ไม่สนับสนุนกิจกรรมใด ๆ ที่เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม รักษาสุขภาพ ดื่มด่ำกับงานศิลปะ และค่อนข้างรักอิสรเสรี ซึ่งแม้ฮิปสเตอร์แต่ละคนหรือแต่ละกลุ่มจะมีรายละเอียดแตกต่างกันไป แต่ส่วนใหญ่ก็มักจะเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับประเด็นเหล่านี้ จึงทำให้การทำการตลาดแบบ “กรีน” เป็นจุดขายสำคัญสำหรับคนกลุ่มนี้ และด้วยพฤติกรรมที่อาจพูดได้ว่าอันที่จริงแล้ว ฮิปสเตอร์ เป็นกลุ่มบุคคลที่หมกมุ่นกับการจับจ่ายใช้สอยเป็นอย่างมาก ฮิปสเตอร์ส่วนใหญ่จะสนุกกับการบริโภค บางครั้งก็อาจจะเป็นสินค้าที่ไม่ได้มีราคาแพง แต่ต้องมีความน่าสนใจและไม่เหมือนใคร ซึ่งกลุ่มคนฮิปสเตอร์ก็พร้อมที่จะจ่ายเงินก้อนโตเพื่อสิ่งที่ตัวเองอยากได้
หลักการง่าย ๆ ของการทำการตลาด Green Hipster คือในการขายของให้ฮิปสเตอร์นั้นองค์ประกอบที่สำคัญก็คือการสร้างภาพลักษณ์ให้สินค้ามีคุณสมบัติที่ทำให้ฮิปสเตอร์รู้สึกว่าเขาเกิดมาเพื่อสิ่งสิ่งนี้ และในเวลาเดียวกันสินค้าตัวนี้ก็ผลิตมาเพื่อเขาโดยเฉพาะด้วยเหตุนี้สิ่งที่ฮิปสเตอร์นิยมจึงมักจะหาได้อย่างจำกัด ไม่ได้มีตามท้องตลาดทั่วไป และมักจะไม่ใช่สิ่งที่ผู้คนในกระแสหลักชื่นชมมากนัก แต่ในเวลาเดียวกันฮิปสเตอร์ก็ไม่ใช่พวกที่ตัดขาดตัวเองออกจากสังคม สิ่งที่ฮิปสเตอร์เลือกให้กับตัวเองจึงต้องสามารถเชื่อมโยงไปถึงผู้อื่น ทำให้ตัวของพวกเขารู้สึกเหมือนได้เป็นส่วนหนึ่งของอะไรบางอย่างไปในตัวด้วย
ตลาด Green Hipster แม้จะเป็นตลาดกลุ่มเฉพาะ (niche market) แต่ก็นับว่าเป็นโอกาสทางธุรกิจที่สำคัญ ด้วยกระแสการบริโภคนิยมอย่างสุดโต่ง เพราะแม้จะไม่ได้มีกลุ่มใหญ่นัก แต่ส่วนใหญ่ก็มักจะมือเติบพร้อมจ่ายเงินก้อนโตจน Forbes magazine ถึงกับล้อเลียนว่า ฮิปสเตอร์ก็แทบจะไม่ต่างอะไรไปจาก “ตู้ ATM” เดินได้ และด้วยการยึดติดความเป็นตัวของตัวเอง การสร้างเอกลักษณ์เฉพาะ ความชอบในการสร้างกระแสและการยอมรับจากคนหมู่มาก จึงทำให้ตลาดกลุ่มฮิปสเตอร์ยังมีความกระหายและต้องการสินค้าอยู่ตลอดเวลา และนับเป็นตลาดกลุ่ม royalty ที่น่าสนใจ
ข้อมูลอ้างอิง
https://www.thetrendspotter.net/