การปรับตัวของธุรกิจเครื่องประดับและอัญมณีท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค Covid-19

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค Covid-19 แบบทดสอบความสามารถในการรับมือของผู้ประกอบการในแวดวงเครื่องประดับไทย

แชร์โพสต์นี้

cover-Gem and jewelry industry adjusts to new reality amid COVID-19 pandemic

สถานการณ์ประเด็นร้อนอย่างการแพร่ระบาดของโรค Covid-19 ที่รุนแรงมากขึ้นจนขยายวงกว้างไปยังหลายประเทศทั่วโลกยังคงเป็นแบบทดสอบความสามารถในการรับมือของผู้ประกอบการในแวดวงเครื่องประดับไทย หลังจากผ่านพ้นผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจโลกไม่ว่าจะเป็นเหตุความไม่สงบในฮ่องกงหรือสงครามทางการค้าของประเทศมหาอำนาจระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน
โดยท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจถดถอยส่งผลต่อทุกกิจการในโลกธุรกิจ คำถามที่แท้จริงคือทำอย่างไรบริษัทจึงจะสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงได้ในยุคเศรษฐกิจตกต่ำอย่างต่อเนื่องเช่นนี้

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค Covid-19 ที่เริ่มต้นขึ้นในเดือนธันวาคม 2019
และยังไม่มีวี่แววว่าจะจบลงเมื่อใดได้ส่งผลกระทบไม่น้อยต่ออุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับทั่วโลกในขณะนี้ธุรกิจค้าปลีกในหลายประเทศโดยเฉพาะจีน ฮ่องกง และมาเก๊าต้องปิดร้านสาขาจำนวนมาก อาทิเช่น Chow Tai Fook, Pandora และกลุ่มเครือบริษัท LVMH ซึ่งทั้งบริษัท Pandora และกลุ่มเครือบริษัท LVMH ต้องปิดร้านสาขาในจีนจำนวนมาก ต่างแสดงความเห็นตรงกันว่าไตรมาสสุดท้ายของปีที่ผ่านมาทางบริษัทมีกำไรเติบโตอยู่ที่เลขสองหลัก แม้การระบาดของโรค Covid-19 จะมีผลกระทบต่อรายได้การเติบโตของบริษัท ซึ่งทำให้ยอดขายลดลงอย่างชัดเจน แต่ก็เชื่อมั่นว่าสถานการณ์จะดีขึ้นและยอดขายจะกลับมาดีดังเดิม หากสถานการณ์ระบาดสามารถจบลงได้ภายในสิ้นปีนี้หรือไม่ระบาดยาวนานถึง 2 ปี โดยแนะผู้ผลิตอาจปรับปริมาณสินค้าคงคลังตามความต้องการในปัจจุบันและรักษาระดับสินค้าให้ต่ำเอาไว้จนกว่าตลาดจะฟื้นตัว และเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยทั่วโลกยังคงต่ำอยู่จึงมีส่วนช่วยกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจที่ซบเซา
และช่วยรักษาระดับราคาทรัพย์สินให้คงตัวซึ่งเป็นผลกระทบในแง่บวกที่ยังช่วยพยุงราคาตลาดไว้

ถึงแม้สถานการณ์การแพร่ระบาดจะมีผลก่อให้กำลังซื้อจะลดลง แต่ทว่าสินค้าคุณภาพสูงยังคงเป็นที่ต้องการของตลาดและมีการสั่งสินค้าเข้ามาเรื่อย ๆ ถึงจะสั่งในอัตราที่ช้าลงก็ตาม แสดงให้เห็นว่าตลาดนั่นยังมีการเคลื่อนไหวอยู่อย่างต่อเนื่องไม่ได้ชงักลงแต่อย่างใด เพียงแต่ผู้ประกอบการต้องปรับสินค้าและคุณภาพให้ตรงกับความต้องการในขณะนี้เท่านั้น

การดึงศักยภาพความสามารถในการรับมือกับวิกฤตินั้นหมายถึงการตอบสนองต่อความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของลูกค้า เมื่อผู้บริโภคมีความต้องการที่ซับซ้อนและแยกย่อยมากขึ้น ผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องสร้างประสบการณ์ในการซื้อให้สอดคล้องกับลูกค้ายิ่งกว่าที่เคยเป็นมา การพัฒนาสินค้าเพื่อเอาชนะความท้าทายที่รออยู่ข้างหน้า และมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

ข้อมูลอ้างอิง

  1. “2020: A ray of hope for the jewellery trade.” by Bernardette Sto. Domingo. JNA.
  2. ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน).

บทความที่เกี่ยวข้อง

Bitcoin Economy

อนาคตของโลกการเงิน ค