ยุทธศาสตร์และแผนการทำงาน กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ปี 2565

แชร์โพสต์นี้

อ3

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์

อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ

แนวทางการทำงานในปีหน้า 

ในปี 2565 กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) ยังคงเดินหน้ายุทธศาสตร์ “การตลาดนำการผลิต” ตามนโยบายหลักของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ที่มอบหมายทูตพาณิชย์ในฐานะเซลส์แมนประเทศ เร่งเชื่อมโยงความต้องการของตลาดโลกให้แก่ผู้ส่งออกของไทย โดยบูรณาการทำงานอย่างเข้มข้นกับพาณิชย์จังหวัด ในฐานะเซลส์แมนจังหวัด เพื่อหาโอกาสให้กับสินค้าท้องถิ่นสู่ตลาดโลก (from Local to Global) รวมทั้งเน้นการนำนวัตกรรรมเทคโนโลยียุคใหม่มาเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนการส่งออกในยุค New Normal
ในส่วนของตลาดส่งออก จะมุ่งรักษาตลาดเดิม และเปิดตลาดใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพการนำเข้าสูง แต่ไทยส่งออกไปได้น้อยกว่าศักยภาพ และยังสามารถเพิ่มมูลค่าส่งออกได้อีก โดยจะเร่งจัดกิจกรรมส่งเสริมการค้าให้ผู้ประกอบการไทยในรูปแบบผสมผสานทั้ง Online & Offline โดยเฉพาะการส่งเสริมผู้ประกอบการไทยใช้ช่องทางแพลตฟอร์ม e-commerce ในการเข้าถึงผู้บริโภคทั่วโลก  การยกระดับให้บริการเจรจาการค้าแบบ Smart OBM โดยการนำระบบ AI มาเพิ่มประสิทธิภาพในการจับคู่เจรจาธุรกิจให้มีความแม่นยำ เพื่อสนับสนุนให้เกิดมูลค่าการซื้อขายมากยิ่งขึ้น
พร้อมกันนี้ จะให้ความสำคัญกับโมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งรัฐบาลได้ประกาศเป็นวาระแห่งชาติ โดยจะเร่งพัฒนาและส่งเสริมผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจด้วยโมเดล “BCG: Bio Circular Green Economy” หรือเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว บูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นในการสนับสนุนการพัฒนาผู้ประกอบการ สินค้าและบริการ หาช่องทางการตลาดในต่างประเทศ รวมทั้งประชาสัมพันธ์ทั้งในและต่างประเทศเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศ เพิ่ม GDP และเพิ่มรายได้ให้กับผู้ประกอบการทุกระดับ

แผนงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศของไทยในปี 2565

กรมมีแผนที่จะดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกในปี 2565 รวม 159 กิจกรรม แบ่งเป็นกิจกรรมภายในประเทศ 74 กิจกรรมและต่างประเทศใน 6 ภูมิภาครวม 85 กิจกรรม ครอบคลุมภารกิจการพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการในเวทีการค้าระหว่างประเทศทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาผู้ประกอบการ สินค้าและบริการ ช่องทางการตลาด อาทิ การจัดงานแสดงสินค้าในประเทศ การพาผู้ประกอบการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศซึ่งจะมีทั้งแบบไปเข้าร่วมงานของผู้จัดในต่างประเทศ งานทีกรมเป็นผู้จัดขึ้นเองในต่างประเทศ เช่น TOP THAI Brands, Mini Thailand Weeks หรือการให้ผู้ประกอบการเข้าร่วมงานผ่านโครงการ SMEs pro-Active การจัดคณะผู้แทนการค้าเยือนต่างประเทศ (Trade Mission)  การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ/สินค้าและบริการของไทยแบบครบวงจร และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการค้าทั้งรูปแบบออฟไลน์/ออนไลน์ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังเพิ่มการดำเนินงานบางส่วนเพื่อให้การทำงานสัมฤทธิ์ผลมากขึ้น ดังนี้
1) เพิ่มความเข้มข้นการทำงานร่วมกับภาคเอกชน โดยกรมจะจัดการประชุมกับภาคเอกชนรายคลัสเตอร์ เพื่อร่วมกันประเมินสถานการณ์การส่งออกรายสินค้า/บริการสำคัญ นอกจากนี้ จะมีการจัดประชุมกระชับความสัมพันธ์ที่ดีกับสมาคมผู้นำเข้า/ผู้ค้าต่างประเทศที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยและในต่างประเทศ รวมทั้งจะใช้ประโยชน์จากเครือข่ายที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ด้านการค้าระหว่างประเทศของกระทรวงพาณิชย์ (Honorary Trade Advisor to the Ministry of Commerce: HTA) ที่มีอยู่ทั่วโลก ให้มากขึ้น
2) ผลักดันการส่งออกสินค้า BCG สินค้านวัตกรรมอย่างเป็นรูปธรรม และสนับสนุนการดำเนินธุรกิจในยุค Next-normal เน้นให้ผู้ประกอบการสามารถปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกและพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ 
3) สร้างความสัมพันธ์และความเชื่อมั่นกับผู้ประกอบการรายใหญ่ ผ่านโครงการ “Thailand Global Business Partners” เพื่อให้เกียรติแก่ผู้นำเข้าและการยกย่องให้เป็นเพื่อนที่ดีที่สุดของประเทศไทย อันเป็นการรักษาฐานลูกค้าเดิม รวมทั้ง ดึงดูดผู้นำเข้ารายใหม่ให้เข้าร่วมกิจกรรม
4) ใช้สื่อออนไลน์สมัยใหม่ในการเผยแพร่ข้อมูลการค้าของกรมให้มากขึ้น อาทิ ในรูปแบบ Podcast หรือ Online TV Chanel ซึ่งเป็นรูปแบบที่กำลังได้รับความนิยม เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยตื่นตัวในการหาความรู้และเข้าถึงข้อมูลสถานการณ์ของตลาดโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งข้อมูลแนวโน้มการตลาด/ความต้องการของผู้บริโภคเชิงลึก กฎระเบียบด้านการค้า ฯลฯ ครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วโลก 
5) ส่งเสริมการทำตลาดแบบผสมผสาน Hybrid เพื่อเปิดตลาด กระชับความสัมพันธ์ และสร้างเครือข่ายธุรกิจ ซึ่งจะมีการส่งเสริมผู้ประกอบการผ่านกิจกรรมทั้งออฟไลน์ที่มีการปรับรูปแบบให้เข้ากับยุคสมัย และกิจกรรมออนไลน์ที่จะส่งเสริมพาณิชย์ดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง รวมถึง กิจกรรม Smart OBM และ Virtual Trade Show นอกจากนี้ จะพัฒนา Infrastructure ของระบบการให้บริการดิจิทัลของกรมให้สอดคล้องกับการทำงานและการให้บริการที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
6) สำรวจความเชื่อมั่นของผู้นำเข้าในต่างประเทศ รวมทั้งการศึกษาตลาดและสำรวจพฤติกรรมการสั่งซื้อและการบริโภคเชิงลึก เพื่อนำข้อมูลความคิดเห็นต่อสินค้าและบริการของไทยมาวิเคราะห์แนวโน้มตลาดและคาดการณ์การส่งออก
7) ส่งเสริมการจับคู่ธุรกิจสนับสนุน (Supporting Businesses) กับผู้ประกอบการส่งออก เพื่อเติมเต็มศักยภาพและลดต้นทุนของผู้ประกอบการส่งออกในเวทีการค้าโลก โดยจัดเวทีให้ผู้ประกอบการส่งออกในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ได้มีโอกาสพบผู้ประกอบการในธุรกิจสนับสนุน อาทิ นวัตกร นักการตลาด ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างแบรนด์ นักออกแบบ ผู้ให้บริการกราฟฟิคดีไซน์ ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ ผู้ให้บริการการขนส่ง ผู้ให้บริการเทคโนโลยีสนับสนุน ฯลฯ เพื่อเชื่อมโยงธุรกิจระหว่างกันซึ่งจะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งในการออกสู่ตลาดต่างประ

บทความที่เกี่ยวข้อง