ข้อมูลการค้ารอบโลก ประจำเดือนมกราคม – มีนาคม 2564

แชร์โพสต์นี้

-ประจำเดือนตุลาคม-–-ธันวาคม-2563-osvy2syvsmoefbc01me2wuzv5e32gumuwmvj9m2oso

ประเทศสหรัฐอเมริกา

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครชิคาโก
เทรนด์ Ghost Kitchen กำลังแรงในสหรัฐฯ

ร้านอาหารแบบไม่มีหน้าร้าน หรือ Ghost Kitchen หรือ Cloud Kitchen หรือ Share Kitchen  เป็นรูปแบบธุรกิจบริการอาหารแนวใหม่ที่กำลังมาแรงในสหรัฐฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบการอาหารมาเช่าพื้นที่ครัวเพื่อใช้ปรุงอาหารและจัดส่งอาหารไปยังลูกค้ายกตัวอย่างห้าง Kroger และห้างซุปเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ในสหรัฐฯ ให้ความสนใจต่อธุรกิจร้านอาหารที่ “ไม่มีหน้าร้าน” และประกาศร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจร่วมกับบริษัท ClusterTruck ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการ Ghost Kitchen ที่เมืองโคลัมบัส รัฐโอไฮโอมาตั้งแต่ปี 2560 เพื่อขยายธุรกิจ Ghost Kitchen ให้เติบโต จากรายงานวิจัยของมอร์แกน
สแตนลี รีเสิร์ช เผยว่ามูลค่าตลาดธุรกิจจัดส่งอาหาร (Food Delivery) ในสหรัฐฯ จะขยายตัวถึง 325,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2563 และจะเพิ่มมูลค่าเป็น 470,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2568 สืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคที่ส่งผลต่อการขยายตัวตลาดธุรกิจจัดส่งอาหาร ตั้งแต่หลังสถานณ์โควิค-19 ซึ่งแน่นอนว่าร้านอาหารแบบ “ไม่มีหน้าร้าน”คือการตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในสหรัฐฯ และธุรกิจจะขยายตัวต่อเนื่องชัดเจน

ประเทศอียิปต์

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงไคโร
กระทรวงอุตสาหกรรมแอลจีเรียชะลอการนำเข้ารถยนต์ที่มีอายุน้อยกว่า 3 ปี

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมของแอลจีเรีย (Mr. Ferhat Ait Ali Braham) ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการชะลอการนำเข้ารถยนต์ที่มีอายุน้อยกว่าสามปีตามที่ระบุไว้ภายใต้ Finance Law 2020 (ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่มกราคม 2563) ว่าไม่ได้ถูกยกเลิก แต่จะอนุญาตให้นำเข้าได้ในช่วงเวลาที่เหมาะสมภายหลังจากการดำเนินมาตรการปฏิรูปเศรษฐกิจและการเงิน  ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนสามารถซื้อรถได้ในราคาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับอัตราแลกเปลี่ยน สำหรับตลาดรถยนต์ใหม่ รัฐมนตรีฯ กล่าวว่าประเทศแอลจีเรียเปิดกว้างสำหรับรถทุกแบรนด์ ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตามข้อกำหนดของผู้ประกอบการแต่ละรายเป็นสำคัญการประกาศชะลอการนำเข้ารถยนตร์ที่มรอายุการใช้งานน้อยกว่า 3 ปี น่าจะเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทยในการส่งออกชิ้นส่วนและอะไหล่ไปยังตลาดแอลจีเรียเพิ่มมากขึ้น จากในปัจจุบันที่สินค้าในหมวดยานยนตร์นี้ถือเป็นสินค้าส่งออกอันดับสองของไทยไปยังแอลจีเรีย ด้วยสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 6 นอกจากนี้ ปัจจุบันรัฐบาลแอลจีเรียมีนโยบายพัฒนาประเทศผ่านการลงทุนในกลุ่ม non-oil industry อาทิ 1) การเกษตร 2) พลังงานทดแทน 3) การท่องเที่ยว 4) เทคโนโลยีสารสนเทศ และ 5) อุตสาหกรรมการผลิตทั้งด้านสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม จึงเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทยที่มีความชำนาญในสาขาดังกล่าวจะเข้าไปเจาะตลาดนอกจากนี้

สหราชอาณาจักร

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงลอนดอน
“Subscription” รูปแบบธุรกิจมาแรงในสหราชอาณาจักร

บัตรเครดิต Barclaycard ระบุว่า ธุรกิจ Subscription หรือ ธุรกิจรูปแบบการสมัครสมาชิกที่ลูกค้าต้องจ่ายค่าบริการต่อเนื่องเป็นรายเดือนหรือรายปี คือรูปแบบธุรกิจที่ขยายตัวอย่างมากในสหราชอาณาจักร โดยร้อยละ 65 ของครัวเรือนทั้งหมดได้สมัครสมาชิกในรูปแบบดังกล่าวเฉลี่ย 7 บริษัท คิดเป็นเงินราว 522 ปอนด์ต่อครัวเรือนต่อปี (รวมเป็นมูลค่าธุรกิจที่สูงถึง 323 ล้านปอนด์ต่อปี) โดยธุรกิจที่ได้รับความนิยมได้แก่ สื่อบันเทิง อาหาร เทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ จากการสำรวจพบว่าสามปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ธุรกิจ Subscription ขยายตัวอย่างมากในสหราชอาณาจักร ได้แก่ (1) Convenient – ความสะดวกสบายในการจับจ่ายสินค้าและเข้าถึงบริการ (2) Exclusive – สินค้าและบริการมีความพิเศษสำหรับสมาชิก และ (3) Personalised – เสนอสินค้าได้ตามความต้องการของลูกค้าแต่ละราย นอกจากนี้ธุรกิจในรูปแบบ subscription ยังช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างธุรกิจกับลูกค้าในช่วงสถานณ์การแพร่ระบาดของไวรัส โดยในช่วง Lockdown ร้านอาหารบางร้านมีการจำหน่ายชุดปรุงอาหารไทยส่งให้ลูกค้านำไปปรุงเองที่บ้าน เป็นโอกาสใหม่ของผู้ประกอบการไทยพัฒนาชุดปรุงอาหารไทยในรูปแบบ subscription นี้ร่วมกับร้านดังต่างๆ เพื่อจำหน่ายในสหราชอาณาจักรมากขึ้น

ประเทศเยอรมนี

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต
วิกฤตโควิดดัน Ethnic food บูมในเยอรมนี

มาตรการปิดสถานที่และควบคุมการเดินทางเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในเยอรมนี ส่งผลให้คนส่วนใหญ่ใช้เวลาช่วงวันหยุดพักผ่อนอยู่ที่บ้านทดลองสูตรอาหารจากทั่วโลก โดยใช้วัตถุดิบอาหารจากแผนกอาหารนานาชาติในซูเปอร์มาร์เก็ต ผลประกอบการของบริษัทผู้ผลิตและนำเข้าอาหาร RILA Feinkost-Import ระหว่างเดือนมกราคม – กันยายน 2563 ในกลุ่ม Ethnic food เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ตกว่า 7,000 สาขาทั่วประเทศ โดยสินค้าจากเอเชีย ได้แก่ เครื่องแกงไทย กะทิ และ เส้นก๋วยเตี๋ยว พบว่าได้รับความนิยมอย่างมาก อย่างไรดี อาหารกลุ่ม Ethnic Food ที่ชาวเยรมันนิยมมากที่สุด ได้แก่ อาหารอิตาลี (ร้อยละ 70) อาหารเยอรมัน    (ร้อยละ 55) อาหารกรีซ (ร้อยละ 34) อาหารจีน (ร้อยละ 29) และไทย (ร้อยละ 21) โดยอิทธิพลที่ทำให้คนหันมาบริโภค Ethnic food ภัตตาคาร-ร้านอาหาร(ร้อยละ 63) การเดินทางพักผ่อน (ร้อยละ 56) เพื่อน (ร้อยละ 47) ตำราอาหาร (ร้อยละ 46)  ซูเปอร์มาร์เก็ต (ร้อยละ 42) และอื่น ๆ (ร้อยละ 9)

ประเทศเยอรมนี

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศณ กรุงเบอร์ลิน
สหภาพยุโรปเพิ่มไทย เป็นประเทศที่สามารถส่งออกแมลงมายังสหภาพฯ ได้แล้ว

สหภาพยุโรป (EU) ประกาศปรับรายชื่อประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ส่งออกผลิตภัณฑ์นมและแมลงเข้าสู่ EU ได้ โดยประเทศที่จะส่งออกมายัง EU จะต้องมีการระบุรายชื่อในเอกสารแนบฉบับที่ IIIa ซึ่งไทยได้รับการระบุลงเอกสารแนบฉบับดังกล่าว เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2563 ทำให้ไทยได้รับอนุญาตส่งออกแมลงเพื่อบริโภคโดยมนุษย์เข้าสู่ EU ได้ สำหรับการส่งออกแมลงไปยังเยอรมนีจำเป็นต้องใช้เอกสารตามระเบียบด้านปศุสัตว์ สำหรับการนำเข้าสินค้าที่มีที่มาจากสัตว์จากประเทศที่สาม (LMEV  – Lebensmitteleinfuhr-Verordnung) LMEV Annex 2a ซึ่งเป็นเอกสารที่ระบุข้อระเบียบในการเลี้ยงสัตว์ ทั้งนี้ เครื่องหมายรับรองมาตรฐานในระดับสากลต่างๆ เช่น เครื่องหมายมาตรฐาน HACCP และ GMP รวมไปถึง เครื่องหมาย BIO ของ EU และมาตรฐาน GAP จะเป็นอีกหนึ่งตัวแปรหลักที่จะได้รับการตอบรับจากผู้นำเข้าและผู้จำหน่ายแมลงและสินค้าแมลง ในประเทศเยอรมนี

ทั้งนี้อุตสาหกรรมแมลงไทยมีศักยภาพสามารถบุกตลาด EU และเยอรนีในเชิงรุกได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นประเทศแรกๆ ที่สามารถส่งออกสินค้าแมลงได้อย่างเป็นธรรม ส่วนในระยะยาวควรเตรียมพร้อมเพื่อตอบรับกับมาตรฐานต่างๆ หรือรสนิยมการบริโภคที่จะเพิ่มมูลค่าให้สินค้าได้ เช่น ตรามาตรฐานออร์แกนิกระดับโลกสำหรับแมลงหรือสินค้าแมลงที่อาจมีขึ้นในอนาคต หรือการแปรรูปอาหารจากแมลง (ที่ไม่เห็นรูปลักษณ์ของแมลงแล้ว) เป็นต้น

ประเทศไต้หวัน

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศณ กรุงมะนิลา
Lazy Economy มาแรง ร้านซักผ้าหยอดเหรียญในไต้หวันขยายตัวไม่หยุด

ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมานี้ ร้านซักผ้าหยอดเหรียญในไต้หวันมีจำนวนเพิ่มขึ้น 3 เท่า รวมเป็นจำนวนกว่า 3,000 สวนทางกับความนิยมของร้านซักรีดทั่วไปที่ปิดตัวลงถึงร้อยละ 35 ยิ่งในช่วงโควิด-19แพร่ระบาด ร้านซักผ้าหยอดเหรียญที่ไม่ต้องมีปฏิสัมพัธ์กับผู้คน และมีการฆ่าเชื้อโรคด้วยความร้อนสูง ยิ่งมีผู้คนมาใช้บริการมากขึ้น เป็นธุรกิจที่มีผลประกอบการเฉลี่ยเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 5-10 จ่ก ช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า

ปัจจุบัน มูลค่าตลาดรวมของร้านซักผ้าหยอดเหรียญอยู่ที่ 10,000 ล้านเหรียญไต้หวัน และมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง โดยสองแบรนด์ใหญ่ในตลาดคือ city wash และ UP YOUNG ต่างก็เริ่มจากการเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องซักผ้าเชิงพาณิชย์ให้แบรนด์ต่างชาติ ก่อนจะผันตัวธุรกิจแฟรนไซส์ร้านซักผ้าหยอดเหรียญในบรรยากาศทันสมัย ซึ่งสาเหตุที่คนไต้หวันใช้บริการร้านซักผ้าหยอดเหรียญนั้นเกิดจากการที่ครอบครัวสมัยใหม่ทั้งสามีภรรยาต้องทำงานนอกบ้าน มีเวลาชีวิตจำกัดการใช้บริการร้านซักผ้าหยอดเหรียญที่มีถังซักและอบผ้าในตัวจึงช่วยลดภาระได้ ถือเป็นธุรกิจแนวใหม่ตามวิถี Lazy Economy นอกจากนี้การที่ราคาที่อยู่อาศัยในไต้หวันเพิ่มสูงขึ้น พื้นที่ภายในบ้านเล็กลงหลายคนไม่มีพื้นที่สำหรับตากผ้าหรือวางเครื่องซักผ้า ก็หันไปใช้บริการร้านซักผ้าหยอดเหรียญทดแทน

บทความที่เกี่ยวข้อง