ข้อมูลการค้ารอบโลก ประจำเดือนกรกฎาคม – กันยายน 2562

ส่องตลาดอังกฤษ ชิลี สาธารณรัฐเช็ก แคนาดา และอินเดีย แล้วมาดูว่ามีธุรกิจอะไรน่าลงทุน

แชร์โพสต์นี้

cover-ข้อมูลการค้ารอบโลก ประจำเดือนกรกฎาคม – กันยายน 2562

อังกฤษ งดใช้พลาสติกจริงจัง

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงลอนดอน 

รัฐบาลอังกฤษออกกฎหมายห้ามจำหน่ายหลอด ไม้คน สำลี ที่ทำจากพลาสติก และห้ามภาคธุรกิจที่ให้บริการอาหารและเครื่องดื่ม จัดวางหลอดพลาสติกให้ผู้บริโภคหยิบใช้เอง และจะให้เมื่อลูกค้าร้องขอ แต่มีข้อยกเว้นให้แก่ผู้ที่มีเหตุผลทางการแพทย์หรือผู้พิการที่มีความจำเป็นต้องใช้หลอดพลาสติก โดยร้านจำหน่ายเวชภัณฑ์ที่ลงทะเบียนสามารถจำหน่ายหลอดพลาสติกในร้านค้าหรือช่องทางออนไลน์ได้ กฎหมายนี้จะมีผลเริ่มใช้ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2021

                 

ชิลี รักษ์โลกต่อเนื่อง

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ กรุงซันติอาโก ประเทศชิลี

ชิลีใช้นโยบายให้ห้างสรรพสินค้าและห้างค้าปลีกทั่วประเทศ งดให้บริการถุงพลาสติกมาตั้งแต่ปี 2018 รวมถึงร้านอาหาร. ร้านกาแฟและเครื่องดื่มก็งดให้หลอดพลาสติกด้วย ล่าสุดบริษัทเครื่องดื่ม Coca Cola และ PepsiCo ก็เตรียมจำหน่ายเครื่องดื่มโดยงดให้บริการขวดพลาสติก หลังจากถูกโจมตีว่าใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ซึ่งสิ่งนี้อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เนื่องจากคนชิลีนิยมดื่มน้ำอัดลมเป็นอันดับสองของโลก อีกทั้งรัฐบาลชิลีก็สนับสนุนอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างเต็มที่ด้วย


สาธารณรัฐเช็ก รถยนต์ไฟฟ้ามาแรง

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก 

นักวิเคราะห์การคาดการณ์ว่า ความนิยมรถยนต์ไฟฟ้าของสาธารณรัฐเช็กจะสูงขึ้นและมีผู้ใช้สูงกว่า 250,000 คัน ภายในปี 2030 โดยบริษัท Skuba ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของสาธารณรัฐเช็กคาดว่าจะขายรถพลังงานไฟฟ้าได้ราว 2,500 คัน แต่ทั้งนี้หากรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ก็ต้องเพิ่มจำนวนสถานีชาร์จให้เพียงพอด้วยเช่นกัน ซึ่งรัฐบาลมีบทบาทอย่างมากในการจัดสรรงบประมาณสำหรับสร้างสถานีชาร์จ และยังได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการลงทุนผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมจากยุโรปใช้เองแทนการนำเข้าจากเอเชียด้วย

แคนาดา หยุดผลิตน้ำมัน

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ โตรอนโต ประเทศแคนาดา

แคนาดาเป็นประเทศที่มีแหล่งน้ำมันสำรองใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากซาอุดิอาระเบียและเวเนซูเอลา โดยน้ำมันร้อยละ 97 มาจากน้ำมันดินทราย (Oil Sands) อันเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของปัญหาโลกร้อน (Climate Change) เรื่องนี้ส่งผลให้บริษัทประกันภัยและสถาบันการเงินหันมาคำนวณความเสี่ยงก่อนปล่อยกู้ให้แก่ผู้ผลิตไฟฟ้าก่อนว่าสามารถรับผิดชอบผลจากการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์มากแค่ไหน เพราะสำคัญถึงขนาดที่รัฐบาลอาจยกเลิกเงินสนับสนุนธุรกิจเหล่านี้ได้เลยทีเดียว ทั้งนี้ หากเหล่าอุตสาหกรรมน้ำมันต้องมีการปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อลดคาร์บอนไดออกไซด์จริงอาจส่งผลต่อต้นทุนการผลิต แต่ขณะนี้รัฐบาลก็ยังไม่มีนโยบายเพื่อเยียวยาผู้ผลิตที่จะได้รับผลกระทบอย่างจริงจัง


อินเดีย ต้นทุนโซล่าร์เซลล์ต่ำสุด

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย

Woodmac บริษัทที่ปรึกษาด้านพลังงานระดับโลก ให้ข้อมูลว่าค่าใช้จ่ายในการปรับต้นทุนเฉลี่ยตลอดอายุโครงการไฟฟ้า (Levelised Cost of Eletricity หรือ LCOE) ของพลังงานโซล่าร์เซลล์ ลดลงเหลือ 38 เหรียญสหรัฐต่อเมกะวัตต์ชั่วโมง ซึ่งเป็นราคาที่ถูกกว่าโรงไฟฟ้าถ่านหิน โดยประเทศ
อินเดียถือว่าเป็นตลาดพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีคุณภาพสูง แต่ราคาถูกเนื่องจากตอนนี้มีการนำเข้าแผงโซล่าร์เซลล์ราคาถูกจากประเทศจีนไปใช้ในการผลิตที่ประเทศอินเดียมากขึ้น ประกอบกับประเทศอินเดียมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสูงและพร้อมด้วยบุคลากรมีความเชี่ยวชาญ ทำให้
สามารถผลิตพลังงานโซล่าร์ได้ปริมาณมาก โดยมีต้นทุนลดลง นับว่าเป็นข้อได้เปรียบในเวทีการค้าโลกอย่างยิ่ง

Loading

บทความที่เกี่ยวข้อง