โดยมีมูลค่าราว 2.6 หมื่นล้านบาท และมีแนวโน้มเติบโต 8% CAGR อย่างต่อเนื่องไปถึงปี 2022 เพราะการส่งมอบที่ไว รักษาคุณภาพสินค้าและยกระดับความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค ส่งผลให้ตลาด Cold Chain Logistics ถูกพัฒนาเพื่อรักษาคุณภาพและลดอัตราการเสียของสินค้า โดยเฉพาะสินค้าประเภทเนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ อาหารทะเล อาหารสำเร็จรูป เครื่องดื่ม และผลิตภัณฑ์จากนม
การให้บริการขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมิมี 2 รูปแบบหลัก คือ การให้บริการขนส่งส่วนใหญ่แก่พันธมิตรธุรกิจ (มากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์) และการให้บริการขนส่งแก่ลูกค้าทั่วไป โดยการสร้างพันธมิตรและการทำสัญญาระยะยาวเป็นกลยุทธ์สำคัญสู่ความสำเร็จของธุรกิจ Cold Chain Logistics ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถบริหารจัดการโลจิสติกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการให้บริการ รวมถึงเพิ่มความแน่นอนและความต่อเนื่องของรายได้
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการที่จะก้าวสู่ Cold Chain Logistics ยังมีความท้าทายที่สำคัญหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นความแตกต่างของอุณหภูมิที่ใช้สำหรับสินค้าแต่ละประเภท การแข่งขันที่มีความรุนแรงขึ้น รวมถึงกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยที่มีแนวโน้มเข้มงวดมากยิ่งขึ้น