Creative Economy ต่อยอดอุตสาหกรรมการผลิตคอนเทนต์

เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) คือการสร้างมูลค่าสินค้าหรือบริการที่เกิดจากความคิดของมนุษย์ โดยนําองค์ความรู้ การศึกษา การสร้างสรรค์งานและการใช้ทรัพย์สินทางปัญญา เชื่อมโยงกับรากฐานทางวัฒนธรรมที่หลากหลายประสานเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ เพื่อการพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Economy Industry)

แชร์โพสต์นี้

cover-Creative Economy ต่อยอดอุตสาหกรรมการผลิตคอนเทนต์

THINK TRADE THINK DITP ฉบับนี้ได้สัมภาษณ์ นายกิตติวัฒน์ ปัจฉิมนันท์ ผู้อํานวยการสํานักพัฒนาและส่งเสริมธุรกิจบริการ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ รับผิดชอบในการพัฒนาและส่งเสริม ภาคอุตสาหกรรม Creative Economy ซึ่งประกอบไปด้วย ภาพยนตร์ เกม แอนิเมชัน ที่กําลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ในปี 2560 ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมภาพยนตร์มีมูลค่าตลาดภายในประเทศถึง 4,370 ล้านบาท และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในปีนี้ ส่วนอุตสาหกรรมแอนิเมชันในปี 2559 มีมูลค่าตลาด 3,966 ล้านบาท และอุตสาหกรรมเกมมูลค่าตลาดมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องที่ 99.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2559 และขยายตัวเป็น 118.6 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2562

อุตสาหกรรมภาพยนตร์
ตลาดภาพยนตร์จีนเป็นเป้าหมายที่สําคัญของวงการภาพยนตร์โลก กลุ่ม Mega Box Bluster ได้แก่ Fox, Disney, Sony Picture, Paramount, Universal และ Warner Bros. ต่างมุ่งรุกตลาดภาพยนตร์จีน สําหรับประเทศไทย ภาพยนตร์เรื่อง “ฉลาดเกมส์โกง” (Bad Genius) ติดอันดับหนึ่งใน Box Office ของประเทศจีน ด้วยรายได้กว่า 40 ล้านเหรียญสหรัฐ (1,301 ล้านบาท) ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สําคัญของภาพยนตร์ไทยในการเข้าสู่ตลาดภาพยนตร์ระดับโลก ในปีนี้ DITP สนับสนุนการจัด Business Matching ระหว่างผู้ประกอบการไทยกับนักลงทุน ผู้ผลิต ผู้สร้าง และผู้กํากับในต่างประเทศที่เข้าร่วมงาน FILMART 2018 และงาน Cannes Film Festival 2018 ซึ่งภาพยนตร์ไทยได้รับความสนใจและเป็นที่ต้องการจากตลาดจีนมากขึ้น 30 – 40% ก่อให้เกิดการซื้อขาย การลงทุน การร่วมผลิตระหว่างประเทศ (Co-production) การรับจ้างผลิต การสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจบันเทิงไทยในตลาดโลกมากยิ่งขึ้น

อุตสาหกรรมแอนิเมชัน
ด้วยจุดแข็งของบุคลากรไทยที่มีทักษะความเชี่ยวชาญระดับสูงในด้านเทคนิคและฝีมือ มีความคิดสร้างสรรค์ให้บริการด้วยใจรัก ราคาเหมาะสมกับคุณภาพของงาน ทําให้ในปี 2559 แอนิเมชันไทยมีมูลค่าตลาดถึง 3,966 ล้านบาท มีอัตราลดลงร้อยละ 1.6 จากปี 2558 แต่มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ในปี 2560 และอัตราการขยายตัวประมาณร้อยละ 10 ในปี 2561 ผู้ประกอบการควรขยายธุรกิจในการเป็นแหล่งรองรับงานรับจ้างผลิต (Outsource) ในอุตสาหกรรมแอนิเมชัน อีกทั้งสร้างเอกลักษณ์ที่โดดเด่นในการพัฒนาคอนเทนต์และทรัพย์สินทางปัญญา โดย DITP มุ่งเน้นสร้างศักยภาพการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยในระยะยาว เพิ่มความสัมพันธ์ทางธุรกิจเพื่อขยายตลาดกับบริษัทต่างชาติ กระตุ้น Co-Production และการลงทุนในอุตสาหกรรมนี้

อุตสาหกรรมเกม
ตลาดเกมมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในการเล่นเกมคือ อุปกรณ์โทรศัพท์แบบสมาร์ทโฟนหรือมือถือ เนื่องจากการพัฒนาเกมในมือถือมีต้นทุนตํ่า เข้าถึงกลุ่มคนได้มาก การโหลดเกมจากมือถือทําได้ง่าย เช่น การดาวน์โหลดจาก Apple Store และ Play Store มีราคาที่ตํ่ากว่าเมื่อเทียบกับโปรแกรมและอุปกรณ์อื่น ๆ ทั้งเล่นฟรีหรือมีสปอนเซอร์ให้การสนับสนุน และเกมที่ต้องเสียเงินดาวน์โหลดมาเล่น หรือพรีเมี่ยมเกม ทั้งนี้ กลุ่มตลาดดิจิทัลคอนเทนต์ ในสาขาเกมมีอัตราการเจริญเติบโตสูงสุด ทําให้ผู้ผลิตไทยยังมีโอกาสอีกมากในตลาด

สํานักพัฒนาและส่งเสริมธุรกิจบริการ ได้มุ่งเน้นที่จะพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการผลิตดิจิทัลคอนเทนต์ที่มีคุณภาพ รวมถึงการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของอุตสาหกรรม โดยอาศัยปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นทักษะความสามารถพิเศษของบุคลากรในวงการ รวมถึงวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยีที่ต้องนํามาหลอมรวมกันเป็นหนึ่งเดียว

Loading

บทความที่เกี่ยวข้อง